Google

Wednesday, October 21, 2009

United Nations : Uniting for Peace Resolution

สหประชาชาติ : มติการร่วมกันเพื่อสันติภาพ

การให้สมัชชาใหญ่มีอำนาจสั่งการให้ปฏิบัติการร่วมกันต่อชาติผู้รุกราน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ใหม่นี้ขึ้นมาได้ก็เพราะได้มีการยอมรับมติร่วมมือเพื่อสันติภาพนี้ปี ค.ศ.1950 ซึ่งจากมตินี้ได้มอบหมายให้สมัชชาใหญ่มีบทบาทหนุนหลังคณะมนตรีความมั่นคงเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากมีการใช้สิทธิ์ยับยั้งของสมาชิกถาวร บทบัญญัติข้ออื่น ๆ ของมติร่วมมือกันเพื่อสันติภาพมีดังนี้ (1) ให้สมัชชาใหญ่เรียก “ประชุมวาระพิเศษฉุกเฉิน” ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดวิกฤติการณ์สันติภาพและความมั่นคง (2) ให้จัดตั้งคณะกรรมการมาตรการร่วมกันให้มาช่วยเหลือสมัชชาใหญ่ในสถานการณ์ดังกล่าว และ (3) ให้สำรวจทรัพยากรที่มวลสมาชิกสามารถจัดหาให้ได้เมื่อมีความจำเป็น

ความสำคัญ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เสนอแนะให้มีการยอมรับมติการรวมกันเพื่อสันติภาพนี้ โดยมีความหวังว่าจะทำให้สหประชาชาติสามารถมีบทบาทสำคัญในการเผชิญภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์และสงครามจำกัดในอนาคต ที่ต้องยอมรับมติการรวมกันเพื่อสันติภาพนี้ก็เนื่องจากคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับความขัดแย้งในเกาหลีได้ เพราะยุทธวิธีสกัดกั้นของสหภาพโซเวียต ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง สมัชชาใหญ่ให้เป็นเครื่องมือต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างมีประสิทธิผล เกิดเป็นอัมพาตเพราะมีสมาชิกใหม่เข้ามามาก ซึ่งสมาชิกใหม่เหล่านี้ส่วนใหญ่ดำเนินนโยบายเป็นกลางและไม่ยอมให้สหประชาชาติตกเป็นเครื่องมือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดำเนินนโยบายสงครามเย็นได้ ถึงแม้ว่าสมัชชาใหญ่จะยังคงมีอำนาจตามมติรวมกันเพื่อสันติภาพให้สามารถมีการปฏิบัติการรวมกันและให้เรียกประชุมฉุกเฉินเป็นวาระพิเศษหลังจากมีการใช้สิทธิ์ยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงได้ แต่มาตรการอื่น ๆ ที่มตินี้ให้สามารถนำมาใช้ได้นั้นกลับไม่มีการนำมาใช้มาตรการร่วมมือกันเพื่อสันติภาพนี้ สมัชชาใหญ่ได้ทบทวนให้นำมาใช้เมื่อมีการพิจารณาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ เช่น วิกฤตการณ์ในฮังการี (ค.ศ.1956) วิกฤติการณ์คองโก (ค.ศ.1960) และวิกฤติการณ์ตะวันออกกลาง (ค.ศ.1956, 1967 และ 1973)

No comments:

Post a Comment