Google

Wednesday, October 21, 2009

United Nations Regional Commissions

คณะกรรมาธิการระดับภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ

คณะกรรมาธิการที่ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมสหประชาชาติ(อีโคล็อก) เพื่อให้ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ของโลก คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมสหประชาชาติซึ่งได้รับอำนาจจากกฎบัตรสหประชาชาติ(ข้อ 68 ) ได้ดำเนินการเมื่อปี ค.ศ.1977 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับยุโรป(อีซีอี) และคณะกรรมการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกล(อีคาเฟ) ซึ่งคณะกรรมาธิการทั้งสองคณะนี้ได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูจากภัยพิบัติจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ.1948 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมสหประชาชาติได้ให้การรับรองบทบาทที่เพิ่มขึ้นของคณะกรรมาธิการระดับภูมิภาคในด้านให้การสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจเพื่อละตินอเมริกาและคาริบเบียน(อีซีเแอลเอซี)ขึ้นมา ต่อมาในปี ค.ศ.1958 ก็ได้มีการจัดคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อเอเชียตะวันตก(อีเอสซีดับเบิลยูเอ) ส่วนคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกล(อีคาเฟ) นั้น ได้ถูกกำหนดหน้าที่เสียใหม่ โดยให้เป็นคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเอเชียและแปซิฟิก(เอสแคป) ถึงแม้ว่าการเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการแต่ละแห่งจะเปิดกว้างให้แก่ทุกประเทศในภูมิภาคนั้น ๆ แต่ประเทศอิสราเอลไม่ได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพัฒนาเอเชียตะวันตก ส่วนประเทศแอฟริกาใต้ก็ถูกปฏิเสธมิให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา สำหรับรัฐอื่น ๆ ที่อยู่นอกภูมิภาคแต่มีความสนใจในภูมิภาคนั้น ๆ ก็อาจมาเป็นสมาชิกหรือสมาชิกสมทบของคณะกรรมาธิการฯนั้น ๆ ได้ สำนักงานใหญ่ของคณะกรรมาธิการฯทั้ง 5 คณะเหล่านี้อยู่ที่นครเจนีวา(สวิต ฯ) กรุงเทพ(ไทย) กรุงซานดิอาโก(ชิลี) กรุงแอดดิสอาบาบา(เอธิโอเปีย) และกรุงเบรุต(เลบานอน)

ความสำคัญ คณะกรรมาธิการระดับภูมิภาค 5 คณะเหล่านี้มีบทบาทสำคัญ (1) ในการดำเนินการวิจัยปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม (2) ในการให้คำแนะนำโดยตรงต่อรัฐบาลของรัฐสมาชิก และ (3) ในการให้คำแนะนำแก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม และองค์กรชำนัญพิเศษต่าง ๆ ทางด้านที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การแห่งนั้น ๆ กิจกรรมของคณะกรรมาธิการระดับภูมิภาคเหล่านี้จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น คณะกรรมาธิการในระดับภูมิภาคเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนบูรณาการทางเศรษฐกิจให้เป็นเครื่องมือใช้แก้ปัญหาการด้อยพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น ในละตินอเมริกา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อละตินอเมริกาและคาริเบียนได้เข้าไปมีส่วนโดยตรงในการจัดตั้ง (1) ตลาดร่วมอเมริกากลาง(ซีเอซีเอ็ม) เมื่อปี ค.ศ.1960 (2) สมาคมการค้าเสรีละตินอเมริกา (แลฟตา) ปี ค.ศ.1961 และ (3) สมาคมบูรณาการละตินอเมริกา(แอลเอไอเอ) เมื่อปี ค.ศ.1980

No comments:

Post a Comment