Google

Wednesday, October 21, 2009

United Nations : Charter

กฎบัตรสหประชาชาติ

สนธิสัญญาพหุภาคีที่ใช้เป็น “ธรรมนูญ” ขององค์การสหประชาชาติ กฏบัตรสหประชาชาตินี้ได้มีการยกร่างและลงนามกันที่ซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.1945 และได้รับการให้สัตยาบันโดยสมาชิกแรกเริ่มจำนวน 51 ชาติ กับมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945 ซึ่งถือว่าวันนี้เป็นวันสหประชาชาตินับตั้งแต่นั้นมา กฎบัตรสหประชาชาติประกอบด้วยคำปรารภ และมาตราต่าง ๆ จำนวน 111 ข้อ ซึ่งระบุถึงวัตถุประสงค์และหลักการต่าง ๆ ของสหประชาชาติ กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรหลัก 6 องค์กร และระบุวิธีการและหน้าที่ของแต่ละองค์กรนั้น ๆ ไว้ด้วย

ความสำคัญ การมีกฎบัตรสหประชาชาตินี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามของประชาคมประชาชาติแห่งนี้ที่จะจัดตั้งบรรทัดฐานของพฤติกรรมระหว่างประเทศ กล่าวคือ (1) ให้ถือว่าสงครามเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย (2) กำหนดให้มีการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี (3) ให้มีการควบคุมอาวุธยุทธภัณฑ์ (4) ให้ดำเนินการปกครองดินแดนภาวะทรัสตี และ (5) ให้การสนับสนุนการร่วมมือระหว่างประชาชาติในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กฎบัตรสหประชาชาติมีลักษณะเหมือนรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา คือ เป็นเอกสารที่มีความยืดหยุ่นที่สามารถตีความได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งหากกฎบัตรไม่มีลักษณะยืดหยุ่นปรับตัวได้เช่นนี้เสียแล้ว สหประชาชาติก็อาจจะล่มสลายภายใต้แรงกระทบของสงครามเย็นก็ได้

No comments:

Post a Comment