Google

Wednesday, October 21, 2009

Regional Political Group : Arab League

กลุ่มทางการเมืองในระดับภูมิภาค : สันนิบาตอาหรับ

กลุ่มในระดับภูมิภาคของชาวมุสลิมที่จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1945 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานกิจกรรมทางการเมืองในหมู่สมาชิก เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตย และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม สมาชิกของสันนิบาตอาหรับประกอบด้วยรัฐเอกราชทั้งในตะวันออกกลางและในแอฟริกาเหนือ สมาชิกแรกเริ่มประกอบด้วย อียิปต์ อิรัก จอร์แดน เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย และเยเมน ต่อมามีรัฐเอกราชอื่นๆมาสมทบอีกจำนวน 15 ชาติ (แอลจีเรีย บาห์เรน จิบูตี คูเวต ลิเบีย มอริเตเนีย โมร็อกโก โอมาน การ์ตา โซมาเลีย ซูดาน ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์(พีแอลโอ) องค์กรทำหน้าที่ตกลงใจของสันนิบาตอาหรับ คือ มัจลิส หรือ คณะมนตรี ซึ่งมาประชุมกันปีละ 2 ครั้ง ประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ การตกลงใจจะมีผลผูกพันก็ต่อเมื่อมีเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น การตกลงใจที่จะขับไล่ผู้รุกราน ส่วนการตกลงใจที่กระทำโดยเสียงข้างมากนั้นให้มีผล”บังคับก็เฉพาะสมาชิกที่ยอมรับการตกลงใจเหล่านั้นเท่านั้น” นอกจากนี้แล้วก็ยังมีคณะกรรมาธิการถาวรต่างๆที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของคณะมนตรีทำหน้าที่ศึกษาในเรื่องเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนประสานความร่วมมือในโครงการต่างๆ กับมีสำนักเลขาธิการซึ่งมีเลขาธิการเป็นหัวหน้า โดยมีสำนักงานใหญ่ของสันนิบาตตั้งอยู่ที่กรุงไคโรประเทศอียิปต์

ความสำคัญ ถึงแม้ว่าสันนิบาตอาหรับจะแสดงออกมาว่าขาดเอกภาพและขาดพลังทางการทหารร่วมกันที่จะต่อสู้กับอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างทศวรรษปี 1970 ถึงทศวรรษปี 1980 จากการที่มีสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีพลังทางการเมืองเพิ่มขึ้น และมีความสนใจร่วมกันอยู่ในระดับเพิ่มมากขึ้น เหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะร่วมมือกันในระดับที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น การประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นนี้สะท้อนออกมาให้เห็นจากโครงการต่างๆของสันนิบาตอาหรับ คือ โครงการจัดตั้งตลาดร่วมอาหรับ โครงการจัดตั้งธนาคารพัฒนาอาหรับ โครงการสถาบันการศึกษาต่างๆ โครงการองค์การปราบยาเสพย์ติด และโครงการสำนักข่าวสารอาหรับ นอกจากนี้แล้วสันนิบาตอาหรับก็ยังได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผลในฐานะกลุ่มแกนนำการประชุมในสหประชาชาติ แต่ถึงจะมีการประสานความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไรก็ยังไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค คือ การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันระหว่างรัฐอาหรับต่างๆ ตลอดจนการต่อสู้เพื่อชิงความเป็นผู้นำในหมู่ประเทศในกลุ่มอาหรับด้วยกัน หลังจากที่การเจรจาระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อุปถัมภ์ได้นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ แคมป์ เดวิด แอคคอร์ดปี ค.ศ. 1978 แล้วนั้น เอกภาพของสันนิบาตอาหรับก็มีอันถูกทำลายเสียสิ้น

No comments:

Post a Comment