Google

Wednesday, October 21, 2009

Regional Economic Group : Organization for Economic Cooperation and Development(OECD)

กลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค : องค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ(โออีซีดี)

องค์การทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นมาเมื่อ ค.ศ. 1961 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าเสรี กับเพื่อขยายและปรับปรุงความช่วยเหลือของชาติตะวันตกแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา องค์การความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(โออีซีดี) มีสมาชิกรวม 24 ชาติโดยแยกกลุ่มประเทศได้ดังนี้ คือ (1) กลุ่มประเทศประชาคมยุโรป 12 ประเทศ( เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน) (2) กลุ่มประเทศสมาชิกของสมาคมการค้าเสรียุโรป(เอฟตา) (ออสเตรีย ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์) (3) ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตุรกี แคนาดา สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ส่วนยูโกสลาเวียมีสถานะพิเศษในโออีซีดีนี้ โออีซีดีได้เข้าแทนที่องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป(โออีอีซี) ที่จัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1948 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติการร่วมกันในหมู่ประเทศที่รับความช่วยเหลือในแผนมาร์แชลเพื่อฟื้นฟูประเทศจากสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การหลักๆของโออีซีดีมีดังนี้ คือ (1) คณะมนตรีประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งปวง (2) คณะกรรมาธิการบริหารประกอบด้วยสมาชิก 6 นายที่ได้รับการเลือกสรรโดยคณะมนตรีทุกปี (3) สำนักเลขาธิการซึ่งมีเลขาธิการใหญ่เป็นหัวหน้า ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้แล้วก็ยังมีองค์การสนับสนุนอื่นๆ คือ (1) คณะกรรมาธิการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา(ทำหน้าที่ประสานโครงการช่วยเหลือแก่รัฐที่กำลังพัฒนา) (2) คณะกรรมาธิการนโยบายเศรษฐกิจ(ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านนโยบายเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ) และ (3) คณะกรรมาธิการการค้า(มีหน้าที่แก้ปัญหาทางด้านการค้า)

ความสำคัญ องค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจนี้เป็นองค์การที่ชาติตะวันตกที่พัฒนาแล้วมุ่งมั่นจะใช้ประสานนโยบายภายในของตนกับนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศ สาระสำคัญที่องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจให้ความสนใจ คือ อุปสงค์ผู้บริโภค อุปทาน การจ้างงาน ต้นทุน ราคา การค้าต่างประเทศ และปัญหาความร่วมมือในหมู่สมาชิกเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและการกำหนดราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก วัตถุประสงค์ที่สหรัฐอเมริกาต้องการผ่านทางกรอบของโออีซีดีมีดังนี้ (1) เปิดตลาดยุโรปเพื่อแก้ปัญหาอคติที่เกิดขึ้นจากระบบการค้าแบบให้สิทธิพิเศษของอีอีซีและของแอฟตา (2) แก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระเงินของสหรัฐอเมริกา (3) เกลี่ยภาระในการช่วยเหลือต่างประเทศในหมู่ประเทศอุตสาหกรรมให้เท่าเทียมกัน โออีซีดีมีความมุ่งมั่นที่จะประสานโครงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการพัฒนาของแต่ละชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้แล้วก็ยังได้กำหนดนโยบายและหลักการทั่วไปไว้เป็นแนวปฏิบัติแก่มวลชาติสมาชิก กับทั้งมีการจัดการประชุมประจำปีให้ผู้แทนของประเทศสมาชิกได้มาชี้แจงเกี่ยวกับโครงการและนโยบายของตนๆบนเวทีเปิดอภิปราย การตกลงใจที่สำคัญๆมักจะเป็นความริเริ่มของสมาชิก 6 ชาติ ต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทั้งนี้โดยมีสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญในการพัฒนานโยบาย

No comments:

Post a Comment