Google

Wednesday, October 21, 2009

Political Community : Atlantic Community

ประชาคมทางการเมือง : ประชาคมแอตแลนติก

แนวความคิดของการมารวมกลุ่มกันในหมู่รัฐต่างๆในแถบยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองร่วมกัน แนวความคิดในเรื่องประชาคมแอตแลนติกซึ่งอิงอาศัยฐานของการมีมรดกทางวัฒนธรรมตะวันตกร่วมกันนี้ ได้รับแรงกระตุ้นเพิ่มขึ้นจากภัยคุกคามของการรุกรานจากยุโรปตะวันออก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีองค์การในระดับภูมิภาคองค์การใดที่มีรัฐทุกรัฐในประชาคมแอตแลนติกเป็นสมาชิก แต่องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ(โออีซีดี) และคณะมนตรียุโรปต่างก็มีรัฐต่างๆเกือบจะทั้ง 25 รัฐในภูมิภาคนี้ได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ส่วนกลุ่มประชาคมทางการเมืองอื่นๆที่มาช่วยสร้างบูรณาการในนโยบายของรัฐต่างๆในภูมิภาคนี้ ได้แก่ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) ประชาคมยุโรป(อีซี) และสมาคมการค้าเสรียุโรป(เอฟตา)

ความสำคัญ การพัฒนาแนวความคิดประชาคมแอตแลนติกเกิดขึ้นมานี้ ได้ช่วยให้เกิดการสมานไมตรีระหว่างรัฐอดีตศัตรูกันในสงครามโลกครั้งที่สอง และช่วยสร้างเอกภาพของนโยบายขึ้นมาโดยการปรึกษาหารือกันในประเด็นสำคัญต่างๆ ในทศวรรษปี 1960 และทศวรรษปี 1970 ฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากนาโต สหรัฐอเมริกาก็มัววุ่นอยู่กับสงครามเวียดนาม ส่วนการคุกคามจากยุโรปตะวันออกก็ได้ลดลง ทั้งสามเหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดการคลายเกลียวสัมพันธ์ที่กระชับแน่นในประชาคมแอตแลนติก นอกจากนี้แล้วลัทธิชาตินิยมที่ปะทุขึ้นมาในประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกก็มีส่วนทำให้ความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายดั้งเดิมของประชาคมแอตแลนติกเหนือที่ต้องการสร้างกรอบของสถาบันเหนือชาติขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยสั่งการทางการเมืองมีอันต้องเชื่องช้าลงไป อย่างไรก็ดี เมื่อถึงช่วงทศวรรษปี 1980 เหตุผลที่จะต้องใช้ประชาคมแอตแลนติกเหนือเป็นตัวประสานประโยชน์เพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างบูรณาการที่ตั้งไว้แต่เดิมก็ได้หวนกลับมาดังเดิม

No comments:

Post a Comment