Google

Wednesday, October 21, 2009

League of Nations : Mandates System

สันนิบาตชาติ :ระบบอาณัติ

ข้อตกลงที่กำหนดให้ดินแดนอาณานิคมของมหาอำนาจกลางที่แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กล่าวคือ เยอรมนีและตุรกีไปอยู่ในความดูแลและปกครองของชาติพันธมิตร มหาอำนาจที่ดูแลดินแดนในอาณัติแต่ละชาติให้รับผิดชอบต่อสันนิบาตชาติในการบริหารดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ ดินแดนในอาณัติเหล่านี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับของการพัฒนาดังนี้ คือ ดินแดนในอาณัติชั้น ก. (คือ ดินแดนอาหรับที่เคยอยู่ในเครือจักรภพของตุรกี) จัดเป็นดินแดนที่พร้อมจะได้เอกราชและปกครองตนเองได้หลังจากที่ได้อยู่ในความปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ ดินแดนในอาณัติชั้น ข.( คือ ดินแดนแอฟริกาตะวันออกและตะวันตกของเยอรมนี) เป็นดินแดนที่ยังมิได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เอกราชเร็ววันแต่ทว่าจะถูกปกครองเป็นอาณานิคมอยู่ต่อไปก่อนแต่ก็จะให้หลักประกันในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานบางอย่าง ดินแดนในอาณัติขั้น ค.( คือ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้และหมู่เกาะแปซิฟิกของเยอรมนี) ดินแดนชั้นนี้จะถูกปกครองโดยให้เป็น”ส่วนภายในของดินแดนของ(มหาอำนาจที่ทำหน้าที่ดูแลดินแดนอาณัติ)” โดยที่มิได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เอกราช กับได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการดินแดนอาณัติถาวรคณะหนึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนจำนวน 10 คน โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับของกติกาสันนิบาตชาติเพื่อให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารดินแดนอาณัติและเสนอรายงานผลการทำงานของตนต่อคณะมนตรีสันนิบาตชาติ

ความสำคัญ ระบบอาณัติที่ได้รับการยอมรับในที่ประชุมสันติภาพที่พระราชวังแวร์ซายส์ให้เป็นทางเลือกแทนการผนวกดินแดนโดยรัฐที่เป็นผู้ชนะนี้ เป็นแบบอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ประชาคมระหว่างประเทศมีความรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของคนที่อยู่ในบังคับของรัฐอื่น ดังจะเห็นได้ว่ารัฐที่เป็นดินแดนในอาณัติหลายรัฐ กล่าวคือ อิรัก ซีเรีย และเลบานอน ได้รับเอกราช ส่วนรัฐในดินแดนในรัฐอาณัติอื่นๆทั้งหมดยกเว้นแต่เพียงแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้เท่านั้นได้ถูกนำไปเข้าอยู่กับระบบภาวะทรัสตีของสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1946 ดินแดนในภาวะทรัสตีเหล่านี้ทุกรัฐต่างก็ได้เป็นรัฐเอกราชทั้งหมดเว้นเสียแต่ดินแดนภาวะทรัสตีของหมู่เกาะแปซิฟิก(ดินแดนภาวะทรัสตีที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา) สำหรับแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้นั้นมีสถานะทางกฎหมายที่ยังไม่มีความแน่นอนอยู่ คือ เมื่อปี ค.ศ. 1966 สมัชชาใหญ่ได้ยอมรับมติให้ขยายขอบเขตรับผิดชอบของสมัชชาใหญ่ไปถึงแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้(นามิเบีย) แต่ทางฝ่ายสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้ปฏิเสธข้ออ้างระหว่างประเทศนี้ ต่อมาจึงได้ทำการสู้รบกับกระบวนการเรียกร้องเอกราชขององค์การประชาชนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้(สวาโป)

No comments:

Post a Comment