Google

Wednesday, October 21, 2009

Human Rights : Universal Declaration

สิทธิมนุษยชน : ปฏิญญาสากล

คำประกาศที่กำหนด”มาตรฐานที่จะบรรลุร่วมกันสำหรับประชาชนทุกคนและชาติทุกชาติ”ในการเคารพต่อสิทธิทางพลเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม ปฏิญญาสากลนี้ซึ่งเตรียมการโดยคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ซึ่งก็ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 เป็นต้นมาสมัชชาใหญ่ได้ดำเนินการร่างข้อตกลง 2 ฉบับ คือ ฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง กับอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ข้อตกลงทั้งสองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิเหล่านี้ที่ได้รับการประกาศในปฏิญญาสากลแล้วได้รับการปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิผลโดยชาติทั้งหลายที่ได้ให้การสัตยาบัน นอกจากนั้นแล้วชาติต่างๆที่ได้ยอมรับข้อตกลงฉบับแรกในสองฉบับบนี้แล้วก็อาจจะให้การสัตยาบันในพิธีสารแทนข้อตกลงว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง ซึ่งก็จะทำให้บุคคลมีอำนาจที่จะร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อองค์การระหว่างประเทศได้

ความสำคัญ ถึงแม้ว่าเกือบจะทุกอย่างที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลจะมิได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศโดยผ่านกระบวนการให้การสัตยาบันสนธิสัญญา แต่ทว่าสิทธิเหล่านี้ก็ยังมีรัฐต่างๆปฏิบัติตาม โดยในหมู่ประเทศที่เกิดใหม่ได้รับการชี้นำจากหลักการของปฏิญญาสากลนี้ต่างก็ได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของตนๆในทุกรัฐ ปฏิญญาสากลนี้สามารถใช้เป็นมาตรฐานสำหรับวัดว่าชาตินั้นๆได้ให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานระหว่างประเทศหรือไม่ ส่วนในอีกหลายๆกรณี อย่างเช่นกรณีประเทศโรดีเซียและประเทศแอฟริกาใต้ ปฏิญญาสากลนี้ก็สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับประณามระบบรัฐธรรมนูญของชาติเหล่านั้นได้ ว่ายินยอมให้มีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มทางเชื้อชาติ กลุ่มทางศาสนา กลุ่มทางสังคม หรือกลุ่มทางการเมืองหรือไม่ ส่วนในสหประชาชาตินั้นปฏิญญาสากลนี้ได้เป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในองค์การหลักและองค์การย่อยทั้งหลายทั้งปวงของสหประชาชาติ

No comments:

Post a Comment